วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557



บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 9
วัน ศุกร์ ที่ 31 มกราคม 2557

เนื้อหาการเรียนการสอน => วันนี้นำเสนอสื่อการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สื่อของดิฉันคือ

ชื่อสื่อ  ลูกเต๋าสารพัดหน้า


วิธีการเล่น  =>
1. เรียงหน้าลูกเต๋าที่มีสีเดียวกัน หรือสลับสีกันเป็นพีชคณิต
2. เรียงตามลำดับตัวเลข
3. เรียงตามสัญลักษณ์ของรูปเรขาคณิต
4. เล่นตามจินตนาการของผู้เล่น เช่น นำมาต่อกันเป็น รถไฟ , บ้านทรงต่างๆ
ประโยชน์ของสื่อ =>
1. เด็กรู้จักตัวเลข
2. เด็กรู้จักการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย และจากน้อยไปหามาก
3. เด็กรู้จักใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเล่น
4. เด็กรู้จักรูปเรขาคณิต

สื่อที่ชื่นชอบ คือ  สื่อ ฝาแฝด

                       
เหตุผลที่ชื่นชอบ คือ
1. สื่อมีสีสันสวยงาม เหมาะกับเด็กปฐมวัย
2. สื่อสอนให้เด็กรู้จักรูปเรขาคณิตที่หลากหลาย 
3. สื่อสอนให้เด็กได้รู้จักการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ จากการเปลี่ยนแปลงของรูปเรขาคณิต

ข้อเสนอแนะ => 
   ควรทำสื่อให้มีความแข็งแรง ทนทาน กว่านี้เพื่อให้เด็กได้เล่นสื่อชิ้นนี้นานๆ






บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 24 มกราคม 2557

เนื้อหาการเรีนการสอน => วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานกลุ่ม โดยให้ช่วยกันระดมความคิดเขียนแผนการสอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผ่านกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม คือ

1. กิจกรรมเสรี
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะ
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา

ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกกิจกรรมกลางแจ้ง หน่วยการเล่นน้ำ แผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล 3 ชื่อกิจกรรม ตักๆ เติมๆ


แผนการสอนนี้มีการบูรณาการเข้าสู่วิชาคณิตศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง หน่วย การเล่นน้ำ คือ ครูให้เด็กตักน้ำเติมใส่ในขวดตามเวลาที่ครูกำหนดให้ เมื่อหมดเวลา ครูนำขวดของแต่ละคนมาเปรียบเทียบระดับน้ำและช่วยกันเรียงลำดับของน้ำจากมากไปหาน้อย หรือจากน้อยไปหามาก ซึ่งกิจกรรมนี้สอนให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ การสังเกต และรู้จักเรียงลำดับ โดยเด็กจะซึมซับการเรียนรู้ผ่านการเล่นและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง







บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7
วัน ศุกร์ ที่ 17 มกราคม 2557

เนื้อหาการเรียนการสอน =>  วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยมอบหมายงานกลุ่มละ 2 งาน

1. การทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้สาระการเรียนรู้ที่ 5 คือ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
2. การทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้สาระการเรียนรู้ที่ 4 คือ พีชคณิต

กิจกรรมที่ 1  กลุ่มของดิฉันได้ทำแผนภูมิแท่ง ในหัวข้อ ผลไม้ที่หนูชอบกินมากที่สุด เช่น ชมพู่ กล้วย มะม่วง ส้ม




สื่อสำเร็จเเล้ว



การนำเสนอสื่อ


ร้องเพลงผลไม้ก่อนนำเข้าสู่บทเรียน


ใช้เทคนิคในการนำเสนอสื่อ เช่น ใครยกมือได้เร็วก่อนจะได้ออกมาเขียนชื่อติดที่ผลไม้ที่ตนเองชอบมากที่สุด เมื่อเสร็จกิจกรรมเเล้วครูจะเป็นผู้สรุปให้เด็กๆฟังว่า ผลไม้ชนิดใดที่เด็กชอบกินมากที่สุดและผลไม้ชนิดที่เด็กชอบกินน้อยที่สุด

กิจกรรมที่ 2  กลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อการสอนพีชคณิต




ผลงาน


การนำสื่อชิ้นนี้ไปใช้ อาจเเต่งเป็นนิทานเล่าให้เด็กฟัง หรือร้องเพลงสัตว์ต่างๆให้เด็กฟัง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการการเรียนรู้ขึ้นโดยอาจจะให้เด็กคิดท่าทางประกอบว่าสัตว์แตละชนิดมีท่าทางอย่างไร ผู้สอนสามารถปรับใช้ได้หลากหลายวิธี เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก


บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 6
วัน ศุกร ์ ที่ 10 มกราคม 2557

เนื้อหาการเรียนการสอน => กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้

สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1 :  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 :  การวัด
สาระที่ 3 :  เรขาคณิต
สาระที่ 4 :  พีชคณิต
สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 :  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์   โดยเมื่อเด็กได้มีการเตรียมความพร้อมแล้ว สิ่งที่เด็กได้ คือ

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
 - รู้ค่าของจำนวน
 - นับ 1-20ได้
 - รู้จักเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
 - รู้จักหลักการนับ

2. มีความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา

3. มีความเข้าใจทางเรขาคณิต

4. มีความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น                                                                                







บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 13 ธันวาคม 2556

เนื้อหาการเรียนวันนี้  => อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา สร้างสรรค์รูปสัตว์ต่างๆ จากรูปเรขาคณิตที่อาจารย์เตรียมมาให้เลือก มีทั้งวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ซึ่งดิฉันได้เลือก วงกลม มาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งาน     " แพนด้าน้อย "




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

   สามารถนำกิจกรรมนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย อาจจะนำรูปเรขาคณิตต่างๆไปให้เด็กปฐมวัยได้สร้างสรรค์ผลงาน โดยการตัด ปะ หรือวาดภาพต่อเติม ตามจินตนาการของเด็กเอง







วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 4

วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม  พ.ศ. 2556

เนื้อหาการเรียนวันนี้  => วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน และแจกใบประเมินให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อนในเเต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนองาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอเรื่อง จำนวนและการดำเนินการ  สอนเด็กในเรื่องของการนับเลข  การเปรียบเทียบ การจำแนกสิ่งของต่างๆ

 กลุ่มที่ 2 นำเสนอเรื่อง การวัด   สอนเด็กโดยการวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน
"แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย" 

กลุ่มที่ 3 นำเสนอเรื่อง เรขาคณิต  สอนเด็กเรียนรู้ในเรื่องเรขาคณิต คือการบอกรูปร่างรูปทรง การจำแนก การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง                            

กลุ่มที่ 4 นำเสนอเรื่อง พีชคณิต  เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

กลุ่มที่ 5 นำเสนอเรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  สอนเด็กในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ  การจำเเนก หรือการสุ่ม 

   


บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่3

วันศุกร์ ที่  22  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556


การเรียนการสอนในวันนี้ => อาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด สำหรับเด็กไม่มีคำตอบที่เเน่นอน ไม่มีคำตอบที่ตายตัวเเละไม่มีคำตอบเดียว เด็กปฐมวัยจะมีคำตอบที่หลากหลาย เเล้วเเต่กระบวนการคิดของเด็กแต่ละคน

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีขั้นดังต่อไปนี้                

1. การสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุและสิ่งของอย่างมีจุดมุ่งหมาย

2. การจำเเนกประเภท คือ การเเบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ในการแบ่ง โดยเกณฑ์ทีมักใช้ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความเเตกต่างเเละความสัมพันธ์

3. การเปรียยบเทียบ คือ หาความสัมพันธ์ของวัตถุ 2 สิ่งขึ้นไป เเละเด็กต้องรู้จักเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งนั้นว่าต่างกันอย่างไรเเละรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

4. การจัดลำดับ คือ การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง

5. การวัด คือ การวัดอุณภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์

6. การนับ คือ คือการให้เด็กนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมายหรือมีความหมายเชื่อมโยงกับวัตถุสิ่งของหรือจุดประสงค์บางสิ่งบางอย่างให้เด็กเกิดเข้าใจได้

7. รูปทรงเเละขนาด คือ รูปทรงหรือขนาดสิ่งของต่างๆที่เด็กได้มีความรู้ก่อนเข้าโรงเรียน 

กิจกรรมวันนี้  => อาจารย์ให้วาดรูปวงกลมหนึ่งวง เเล้วเขียนตัวเลขที่เราชอบลงไปในวงกลม จากนั้นอาจารย์จึเฉลยว่าให้วาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนเลขที่เราได้เขียนในวงกลม




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 

สามารถนำไปจัดกิจกรรมหรือบูรณาการกิจกรรมให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เพราะเด็กสามารถเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ได้จากสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งกิจกรรมนี้สามารถส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง